ยิมนาสติก
ยิมนาสติก เป็นกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันเพื่อทดสอบความแข็งแรงของนักกีฬารวมทั้งจังหวะ (Rhythm)
ความยืดหยุ่นตัวหรือความอ่อนตัว (Flexibility) และ ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) กีฬายิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขันมี
3 แบบคือ ยิมนาสติกสากล (Artistic Gymnastics) ยิมนาสติกลีลา (Rhythmic Gymnastics) และแทรมโปลิน
(Trampoline) สำหรับยิมนาสติกสากลและแทรมโปลินจะแข่งขันได้ทั้งชายและหญิง ส่วนยิมนาสติกลีลาจะแข่งขันเฉพาะหญิงเท่านั้น
กติกาการแข่งขันยิมนาสติกถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธ์ยิมนาสติกสากล
(Federation Internationale de Gymnastique (FIG) ตั้งอยู่ที่เมืองมัวเตีย (Moutier) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
มีสาขาในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ที่เมืองอินเดียนาโปลิส มลรัฐอินเดียนา
สาขาในแคนาดาอยู่ที่เขตกลูเชสเตอร์ เมืองออนตาริโอ

ภาพ : สหพันธ์ยิมนาสติกสากล (Federation Internationale de Gymnastique (FIG)
ประวัติและพัฒนาการของกีฬายิมนาสติก

ภาพ : สหพันธ์ยิมนาสติกสากล (Federation Internationale de Gymnastique (FIG)
ประวัติและพัฒนาการของกีฬายิมนาสติก
กีฬายิมนาสติกถือกำเนิดขึ้นเมื่อไรที่ไหนไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัดทราบแต่เพียงว่าในสมัยก่อนนั้น“ยิมนาสติก” มีความหมายว่า “กิจกรรมเพื่อการออกกำลังกาย”
หรือบางทีก็อาจจะตีความหมายว่า ยิมนาสติกคือกีฬาหรือกรีฑาก็ได้แม้ในปัจจุบันในประเทศเยอรมันก็ยังเรียกการพลศึกษาว่า “ยิมนาสติก”
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าชาวจีนได้มีการคิดท่ากายบริหารขึ้นมาเพื่อการบริหารร่างกายให้เกิดความแข็งแรง
และถือเป็นการป้องกันและรักษาโรคได้ด้วย นอกจากนี้ชาวจีนยังรู้จักการเล่นกายกรรมในลักษณะของการต่อตัว
การไต่เชือกและการตีลังกาแบบต่างๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายยิมนาสติกในปัจจุบัน
เชื่อกันว่าชาวกรีกและชาวโรมันเป็นผู้ริเริ่มสนใจและฝึกฝนยิมนาสติกอย่างจริงจัง
ชาวกรีกได้เน้นให้เยาวชนได้ฝึกยิมนาสติก เช่น การวิ่ง การกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง การเต้นรำประกอบดนตรี
และการเล่นเกมต่างๆ โดยเรียกกิจกรรมเหล่านี้ว่า
“ยิมนาสติกเพื่อเยาวชน”


ชาวโรมันได้รับอารยธรรมจากกรีกได้นำกิจกรรมยิมนาสติกมาสร้างความเข้มแข็งให้กับทหารในกองทัพ
กิจกรรมที่นำมาฝึกได้แก่ การวิ่ง การกระโดดข้ามม้า
การพุ่งหอก การขว้างก้อนหิน
ฟันดาบ ไต่เชือก ไต่กำแพง และมวยปล้ำ
โดยเรียกยิมนาสติกของชาวโรมันว่า “ยิมนาสติกเพื่อการทหาร”
เราจะเห็นว่ายิมนาสติกเหล่านี้ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนเหมือนในปัจจุบันแต่มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือสร้างความแข็งแรงให้กับคนโดยใช้การออกกำลังกายเป็นสื่อ พอจะสรุปได้ว่ายิมนาสติกพัฒนามาจาก
• สงครามและการต่อสู้ • การเต้นรำและศิลปะดนตรี
• กายกรรม • เกมเพื่อการออกกำลังกาย

เมื่ออาณาจักรโรมันเข้าสู่ยุคมืด กิจกรรมยิมนาสติกก็เสื่อมลงไปด้วย
จนถึงสมัยกลางยิมนาสติกก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อย่างจริงจัง
โดยเฉพาะประเทศต่างๆ ในยุโรป
ในประเทศเยอรมันได้มีการพัฒนายิมนาสติกขึ้นอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ.1776 โยฮัน เบสโดว์ (Basedow Johann Bernhard) ได้บรรจุยิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรการพลศึกษา เบสโดว์จึงได้ชื่อว่าเป็นครูสอนยิมนาสติกคนแรก กิจกรรมยิมนาสติกที่เขานำมาสอนได้แก่ การวิ่ง กระโดดสูง ขี่ม้า ยกน้ำหนัก เดินทรงตัวบนคานไม้ ปีนต้นไม้ ว่ายน้ำ และเกมต่างๆ

ในประเทศเยอรมันได้มีการพัฒนายิมนาสติกขึ้นอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ.1776 โยฮัน เบสโดว์ (Basedow Johann Bernhard) ได้บรรจุยิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรการพลศึกษา เบสโดว์จึงได้ชื่อว่าเป็นครูสอนยิมนาสติกคนแรก กิจกรรมยิมนาสติกที่เขานำมาสอนได้แก่ การวิ่ง กระโดดสูง ขี่ม้า ยกน้ำหนัก เดินทรงตัวบนคานไม้ ปีนต้นไม้ ว่ายน้ำ และเกมต่างๆ


ต่อมาในปี ค.ศ.1793 กุตมุธส์ (Guts Muths Johann Christian) ชาวเยอรมัน ได้เขียนตำรายิมนาสติกขึ้นเป็นเล่มแรกชื่อ “Gymnastic For Youth” เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นคุณปู่แห่งวงการยิมนาสติก กิจกรรมต่างๆ ที่เขาได้บรรจุไว้ในหนังสือ เขาได้ใช้หลักการและการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ พบว่ากิจกรรมเหล่านี้จะพัฒนาคนได้เกือบทุกด้าน กิจกรรมดังกล่าวได้แก่ วิ่งเร็ว กระโดดสูง กระโดดไกล ฟันดาบ ปีนต้นไม้ มวยปล้ำ การขว้างปา ยิงธนู ว่ายน้ำ การเต้นรำ การเดินทรงตัวบนคานไม้ และเกมต่างๆ

ต่อมา จาห์น (Friedrich Ludwig Jahn) ได้คิดประดิษฐ์อุปกรณ์และสถานที่สำหรับฝึกยิมนาสติกขึ้นด้วย เขาจึงได้ชื่อว่า “บิดาแห่งยิมนาสติก” อุปกรณ์ที่เขาได้คิดค้นขึ้น ได้แก่ ราวเดี่ยว (Horizontal Bar) ราวคู่ (Parallel Bar) ม้ากระโดด (Vaulting Horse) คานทรงตัว (Balance Beam) ฟรีเอ็กเซอร์ไซด์ (Floor Exercise) ม้าหู (Side Horse) ส่วนห่วง (Rings) และราวต่างระดับ (Uneven Bars) คิดขึ้นในสมัยกลาง


ต่อมาในปี ค.ศ.1800
นักยิมนาสติกชาวสวีเดนชื่อ “ลิงก์” (Pehr Henrik Ling) ได้นำจังหวะและการประสานงานของท่าต่างๆ
อย่างต่อเนื่องโดยใช้อุปกรณ์ห่วงฮูล่า คฑา
และลูกบอลเล็ก ซึ่งปัจจุบันก็คือยิมนาสติกลีลา

ยิมนาสติกเริ่มการแข่งขันครั้งแรก ในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อปี ค.ศ.1896


ในปี ค.ศ.1903 ตั้งสหพันธ์ยิมนาสติกสากล (Federation International De Gymnastic = FIG) ได้จัดให้มีการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์โลกขึ้นนับเป็นครั้งที่ 7 และให้เปลี่ยนการแข่งขันเป็น 4 ปีต่อครั้ง เหมือนกับกีฬาโอลิมปิก โดยจะจัดก่อนกีฬาโอลิมปิก 1 ปี

ยิมนาสติกเริ่มการแข่งขันครั้งแรก ในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อปี ค.ศ.1896


ในปี ค.ศ.1903 ตั้งสหพันธ์ยิมนาสติกสากล (Federation International De Gymnastic = FIG) ได้จัดให้มีการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์โลกขึ้นนับเป็นครั้งที่ 7 และให้เปลี่ยนการแข่งขันเป็น 4 ปีต่อครั้ง เหมือนกับกีฬาโอลิมปิก โดยจะจัดก่อนกีฬาโอลิมปิก 1 ปี
ในระยะแรกของการแข่งขันกีฬายิมนาสติกจะแข่งขันเฉพาะชาย ต่อมาในปี ค.ศ.1928 จึงจัดให้มีการแข่งขันประเภทหญิงด้วย
(ตรงกับกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 9 ค.ศ.1928)

ภาพ : การแข่งขันกีฬายิมนาสติกในปี ค.ศ.1928 เป็นปีแรกที่มีการแข่งขันประเภทหญิง

ภาพ : การแข่งขันกีฬายิมนาสติกในปี ค.ศ.1928 เป็นปีแรกที่มีการแข่งขันประเภทหญิง
ในช่วงระยะเวลาที่กล่าวมาแล้ว กิจกรรมยิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขัน
มีลักษณะคล้ายกับยิมนาสติกในปัจจุบัน อีกส่วนหนึ่งก็คล้ายกับกรีฑา
บางครั้งก็มีว่ายน้ำรวมอยู่ด้วย ทางสหพันธ์ยิมนาสติกสากลจึงคิดว่าควรจะแยกการแข่งขันยิมนาสติกออกจากกรีฑา
ในปี ค.ศ.1934 เริ่มบรรจุม้ากระโดดและราวต่างระดับเข้าไว้ในการแข่งขันยิมนาสติกด้วย
ในปี ค.ศ.1952 ได้มีการกำหนดอุปกรณ์ชายมี
6 อุปกรณ์ และหญิงมี 4 อุปกรณ์
ดังนี้ ชาย 6 อุปกรณ์ได้แก่
ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ ม้าหู ห่วงนิ่ง
ม้ากระโดด ราวเดี่ยว ราวคู่ ส่วนหญิงมี 4 อุปกรณ์ได้แก่
ม้ากระโดด ราวต่างระดับ คานทรงตัว และฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ เรียกยิมนาสติกดังกล่าวนี้ว่า “ยิมนาสติกสากล” (Artistic
Gymnastics)




จากนั้นยิมนาสติกได้รับการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาเรื่อยๆ
ทั้งทางด้านกติกา เทคนิค วิธีการต่างๆ
จนทำให้ยิมนาสติกเจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ และในปี ค.ศ.1970
ยิมนาสติกจากสวีเดนก็ได้รับความนิยมมากขึ้น
จึงจัดให้มีการแข่งขันขึ้น ประเภทการแข่งขันยิมนาสติกนี้ว่า “ยิมนาสติกลีลาใหม่” ซึ่งจะแข่งขันเฉพาะหญิงเท่านั้น
อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ เชือกกระโดด ห่วงฮูล่า
ลูกบอล คฑา
และริบบิ้น




อ้างอิง
www.wagymnasticshistory.com/historyearlyworld.html
www.sites.google.com/site/saychayspxrtxefsi/prawati-yimnastik
th.wikipedia.org/wiki/ยิมนาสติก
www.l3nr.org/posts
จัดทำโดย นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ชั้น
ม.4/10 รุ่น 26
นางสาวธนารีย์ ประภานิรินธน์ เลขที่ 1
นางสาววรารีย์วัลย์ ศุขอัจจะสกุล เลขที่ 2
นางสาวสมิตา ศิวาวุธ เลขที่ 3
นางสาวอารียา คงจรรักษ์ เลขที่ 4
นางสาวณัฐชยา มีจันทร์ เลขที่ 21
นางสาวพรรณีลักษณ์ อุดมวิทย์ เลขที่ 23
นางสาวฝอยฝน เส้งสง เลขที่ 25
นางสาวธนารีย์ ประภานิรินธน์ เลขที่ 1
นางสาววรารีย์วัลย์ ศุขอัจจะสกุล เลขที่ 2
นางสาวสมิตา ศิวาวุธ เลขที่ 3
นางสาวอารียา คงจรรักษ์ เลขที่ 4
นางสาวณัฐชยา มีจันทร์ เลขที่ 21
นางสาวพรรณีลักษณ์ อุดมวิทย์ เลขที่ 23
นางสาวฝอยฝน เส้งสง เลขที่ 25